ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม
ใบเสนอราคาประกันสุขภาพแบบกลุ่ม
รู้ก่อนซื้อประกันสุขภาพแบบกลุ่ม
1 สำเนาทะเบียนรถ
2 สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกัน
1 กรอกข้อมูล ค้นหา เปรียบเทียบ เลือกแผน
2 กรอกข้อมูลผู้ซื้อรับเลขที่ติดต่อเพื่อให้ติดต่อกลับ
3 ตกลงซื้อประกัน ส่งเอกสารสำเนาทะเบียนรถและบัตรประชาชน
4 บริษัทพิจารณาเอกสารและแจ้งผลกลับ
5 ชำระค่าเบี้ยประกัน กรมธรรม์มีผลคุ้มครอง
6. กรมธรรม์ฉบับจริง จัดส่งให้ 7-15 วัน หรือ รับกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ไฟล์
1 โปรดแถลงถ้อยคำขอเอาประกันภัยตามความเป็นจริง การปกการปกปิดข้อเท็จจริงใด ๆ หรือการแถลงข้อความอันเป็นเท็จ จะมีผลให้สัญญาประกันภัยนี้ตกเป็นโมฆียะ บริษัทผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาประกันภัยหรือบอกเลิกสัญญาประกันภัยได้
2 บริษัทให้ความคุ้มครองเมื่อได้ตรวจสอบเอกสารก่อนอนุมัติให้ความคุ้มครอง และได้รับชำระค่าเบี้ยจากผู้เอาประกันภัยแล้ว
3 เงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้น จะระบุอยู่ในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย โปรดอ่านก่อนตกลงทำประกันภัย
เลือกชำระค่าเบี้ยประกันได้ 2 ช่องทาง
ช่องทางที่ 1. จ่ายผ่านบัตรเดบิต/เครดิต โดยกรอกรายละเอียดในแบบการชำระเบี้ยผ่านบัตรเครดิต ซึ่งสามารถเลือกผ่อนชำระได้ตามระบบที่เปิด ชำระสูงสูดไม่เกิน 10 เดือน
ช่องทางที่ 2. จ่ายเงินสด/เงินโอน เลือกชำระแบบจ่ายงวดเดียวจะได้ส่วนลดสูงสุด
คุ้มครองค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากโรคภัยตามที่ระบุความคุ้มครองไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ การเลือกทำประกันสุขภาพควรเลือกทำประกันที่ครอบคลุม ตั้งแต่ป่วยเล็กน้อยจนถึงทุพพลภาพและควรเปรียบเทียบเงื่อนไขความคุ้มครองก่อนซื้อประกัน
1 โรคที่เกิดขึ้นระหว่าง “ ระยะเวลารอคอย ” ความคุ้มครองประกันสุขภาพ มีโรคบางประเภทที่ต้องพ้น “ ระยะเวลารอคอย ” ก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครอง เช่น การเจ็บป่วยทั่วไป ที่อาจกำหนดไว้ 30 วัน หรือโรคชนิดร้ายแรง ที่อาจกำหนดไว้ 90 – 120 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับคุ้มครอง (ช่วงเวลาของ “ ระยะเวลารอคอย ” ของแต่บริษัท จะแตกต่างกัน )
2 โรคเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หากรู้สึกปวดหัว หรือมีไข้ไม่มาก บริษัทอาจไม่ให้ความคุ้มครอง เพราะว่าเป็นโรคทั่วไป ต้องดูที่เงื่อนไขของแต่ละบริษัทกำหนดไว้ว่าคุ้มครองกรณีนี้ด้วยหรือไม่
3 โรคที่เป็นมาก่อนซื้อประกันสุขภาพ การกรอกข้อมูลประวัติสุขภาพ ต้องกรอกข้อความด้วยความเป็นจริง เพราะบริษัทประกันสามารถตรวจสอบประวัติสุขภาพย้อนหลังของท่านได้ จึงควรกรอกข้อมูลด้วยความเป็นจริงตั้งแต่เริ่มทำประกัน โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน บริษัทจะไม่คุ้มครองทุกกรณี จึงควรแถลงข้อความที่เป็นจริงจะได้ไม่มีปัญหาข้อโต้แย้งกันในภายหลัง
4 โรคร้ายแรง โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง เช่น โรคทางพันธุกรรม, โรคที่เกิดจากการแปลงเพศ, โรคที่เกิดจากความเครียด เช่น ภาวะหมดไฟจากการทำงาน หรือโรคซึมเศร้า, โรคที่เกิดจากการติดสุราเรื้อรัง และสารเสพติดทุกชนิด หรืออื่น ๆ เป็นต้น
5 นอกเหนือจากนี้ ยังมีการยกเว้นค่ารักษาอื่น ๆ ด้วย เช่น การรักษาที่ไม่ได้มาจากคำสั่งของแพทย์, การรักษาในระยะทดลอง, การรักษากับแพทย์ทางเลือก, การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ยกเว้นโรคพิษสุนัขบ้า และบาดทะยัก, การตรวจสุขภาพเพื่อหาโรค, การตรวจสายตา, การตรวจและรักษาการได้ยิน, การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของวัย, ค่าอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น ไม้เท้า ค่าผ่าตัดอวัยวะ, ค่าบริการที่เรียกเก็บล่วงหน้า
เงื่อนไขประกันสุขภาพแต่ละบริษัทประกันวินาศภัย มีความแตกต่างกันจึงควรอ่านทำความเข้าใจเงื่อนไขความคุ้มครองก่อนทำประกันและในสัญญากรมธรรม์ทุกครั้ง หากไม่ถูกต้องหรือมีข้อสงสัยให้สอบถามทันที
ความคุ้มครองของประกันภัยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ
ระยะเวลาการรอคอย (Waiting Period) หรือระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ไม่สามารถเรียกร้องค่ารักษาหรือสินไหมได้ ถึงแม้ว่าผู้เอาประกันจะได้ชำระค่าเบี้ยประกันไปแล้ว แต่ละบริษัทประกัน จะกำหนดระยะเวลารอคอยของโรคไว้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของโรค เช่น โรคทั่วไปอาจกำหนดไว้ 30 วัน แต่โรคร้ายแรงอาจกำหนดไว้ 120 วัน ดังนั้นผู้เอาประกันจึงควรอ่านเงื่อนไขข้อนี้ให้เข้าใจก่อนซื้อประกัน
คำถามที่พบบ่อย ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม
ประกันสุขภาพ แบบมีความรับผิดส่วนแรก (deductible) คือ ประกันสุขภาพที่ผู้เอาประกันจะต้องเป็นคนจ่ายค่ารักษาส่วนแรกเองก่อน ตามเงื่อนไขข้อตกลง โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาส่วนเกินตามวงเงินที่กำหนดในกรมธรรม์นั้นๆ และประกันสุขภาพแบบไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก แต่จะค่าเบี้ยประกันภัยที่มีราคาสูงกว่า ก่อนซื้อจึงควรอ่านทำความเข้าใจ หรือสอบถามเจ้าหน้าที่ขายทุกครั้ง
บางแผนความคุ้มครอง อาจไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ผู้เอาประกันจะต้องเปิดเผยข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องให้บริษัทประกันทราบ หากปกปิดหรือบริษัทประกันทราบในภายหลังทำประกันสุขภาพ บริษัทประกัน มีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินค่าชดเชย ค่ารักษาพยาบาล และบอกยกเลิกสัญญาประกันภัยได้
ผู้ป่วยใน หรือ IPD (In Patient Department)หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวใน รพ.
ผู้ป่วยนอก หรือ OPD (Out Patient Department)หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวใน รพ.
บางแผนให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีเป็นผู้ป่วยใน หรือบางแผนให้ความคุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ควรศึกษารายละเอียดของแต่ละแผนก่อน
การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยด้วยโรคที่ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขสัญญากรมธรรม์ประกันภัย และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเครือที่บริษัทประกันกำหนดไว้ จะไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาในวงเงินที่กำหนดไว้ตามสัญญา แต่ในกรณีที่เป็นการใช้สิทธิเข้ารับการรักษาตัวครั้งแรก ผู้เอาประกันอาจต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน เพราะบริษัทประกัน อาจต้องใช้เวลาในการตรวจสอบประวัติคนไข้ก่อน
ความคุ้มครองขึ้นอยู่กับแผนของแต่ละบริษัทประกันที่กำหนดไว้ ผู้ที่ชอบเดินทางต่างประเทศจึงควรเลือกแผนที่ให้ความคุ้มครองการเกิดอุบัติเหตุในต่างประเทศ
การเบิกค่ารักษาพยาบาล จะเบิกได้เพียงบริษัทเดียว ส่วนการเบิกค่าชดเชยรายได้อาจเบิกได้มากกว่า 1 บริษัท โดยผลประโยชน์ในเรื่องนี้ ผู้ซื้อต้องสอบถามผู้ขายประกันหรืออ่านในเงื่อนไขข้อสัญญาเพื่อทำความเข้าใจก่อนซื้อประกัน รวมถึงทราบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ผู้ซื้อมี ควรสอบถามผู้ขายเรื่องลำดับการเบิกจ่ายใช้สิทธิ์ในแต่ละที่ว่าสามารถใช้สำเนาใบเสร็จเบิกได้หรือไม่
เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี อาจปรับเปลี่ยนตามที่กรมสรรพกรกำหนด
ผู้เอาประกันติดต่อเพื่อขอยกเลิกสัญญากรมธรรม์ประกันวินาศภัยได้ตลอดในเวลาทำการ โดยเขียนความประสงค์ยกเลิกลงในเอกสารสำเนาบัตรประชาชน และส่งมาที่ Savedee เพื่อดำเนินการตามความประสงค์ หากเป็นการรับกรมธรรม์ฉบับจริงไป ต้องส่งเอกสารกรมธรรม์คืน แต่หากเป็นการรับกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องนำส่งกรมธรรม์
หน่วยงานที่ให้การรับรอง
หน่วยงานที่ให้การรับรอง
พิมพ์ใบเสนอราคา
ชื่อแพคเก็จ | ค่าเบี้ย | ค่าเบี้ยเรียกเก็บ | ส่วนลด |
---|---|---|---|
เบี้ยเหมา D72 (D72) | |||
GG Region | |||
ประเภท 1 FIRST LOSS |